วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

สิทธิของผู้ถูกจับในชั้นจับ มอบตัว ควบคุม

สิทธิของผู้ถูกจับที่ในชั้นการจับกุมของเจ้าพนักงานผู้จับ และในชั้นพนักงานสอบสวน และเจ้าพนักงานผู้รับตัวผู้ถูกจับ ต้องแจ้งสิทธิ ให้ ผู้ถูกจับ ทราบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 22 พ.ศ. 2547
การขึ้นโรง ขึ้นศาล มีโครบ้าง ที่โครอยากไปสัมผัส คงไม่มีโครที่ต้องการที่จะถูกจับกุม ซึ่งบางครั้ง เมื่อหลาย ๆ ท่านได้เป็น ผู้นำของชุมชน หรือ มีญาติพี่น้อง เพื่อน ๆ ต้องถูกจับกุม โดยเจ้าพนักงานของรัฐ และมีคนมาปรึกษาท่าน ทราบไหมว่า เมื่อผู้ถูกจับโดยเจ้าพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าพนักงานอื่น ผู้มีอำนาจทำการจับกุม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้บัญญัติให้ ผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหา ควรมีสิทธิที่จะทราบว่า เขามีสิทธิอะไรบ้างเพื่อจะได้มีโอกาส พิสูจน์ว่า ตนเองบริสุทธิ์   ซึ่งตามคำนิยาม ของคำว่า ผู้ต้องหา  ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (2) หมายความถึง  บุคคลผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และ มาตรา 2(3)    จำเลย หมายถึง  บุคคลซึ่งถูกฟ้องต่อศาลแล้วโดยข้อหาว่ากระทำความผิด
            ดังนั้น คงทราบว่า ตราบใดที่ศาลยังไม่ได้ประทับฟ้องผู้ต้องหายังไม่ได้ เป็นจำเลย ตาม ป.วิอาญา ได้บัญญัติไว้ตาม มาตรา  165 อนุ 3 ว่า ก่อนที่ ศาล ประทับฟ้อง มิให้ถือว่า จำเลย อยู่ในฐานะเช่นนั้น ก็หมายความ ว่า เมื่อศาลยังไม่ได้ประทับฟ้อง ผู้ต้องหา ยังไม่มีฐานะเป็นจำเลย คือ ยังไม่มีฐานะ เป็นคู่ความนั่นเอง ก่อนอื่น มาทราบว่า  เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ - หรือเจ้าพนักงานอื่น ทำการจับกุมผู้ถูกจับ เจ้าพนักงานผู้ถูกจับต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบถึงสิทธิ ของผู้ถูกจับว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งพอจะแจ้งให้ทราบว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิ ดังต่อไปนี้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83,
            ในการจับนั้น เจ้าพนักงาน หรือ ราษฎร ซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่า เขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการ ของพนักงานสอบสวน แห่งท้องที่ที่ถูกจับ พร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่ สามารถนำไปที่ทำการ ของพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบได้ ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการ ของพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็น ก็ให้จับตัวไป
            ในกรณีที่ เจ้าพนักงาน เป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหา ให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับ ให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับ มีสิทธิที่จะไม่ให้การ หรือ ให้การ ก็ได้ และ ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดีได้ และ ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบ และ ปรึกษาทนายความ หรือ ผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับ ประสงค์จะแจ้งให้ญาติ หรือ ผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุม ที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวก และ ไม่เป็นการขัดขวางการจับ หรือ การควบคุมผู้ถูกจับ หรือ ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงาน อนุญาตให้ผู้ถูกจับ ดำเนินการได้ ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้น บันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย
            ถ้า บุคคลซึ่งจะถูกจับ ขัดขวาง หรือ จะขัดขวางการจับ หรือ หลบหนี หรือ พยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับ มีอำนาจใช้วิธี หรือ ป้องกันทั้งหลาย เท่าที่เหมาะสม แก่พฤติการณ์แห่งเรื่อง ในการจับนั้น เมื่อท่านทราบตามบทบัญญัติของ ประมาลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ผู้เขียนขอแยกออกเป็นข้อดังนี้

         1. เจ้าพนักงานซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับว่า เขาต้องถูกจับ (ป.วิ. อาญา มาตรา 83 วรรคหนึ่ง)  (เจตนาของกฎหมายเพื่อให้ผู้ถูกจับทราบเบื้องต้นว่าเขาจะต้องถูกจับ)
            2. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หรือหากเป็นกรณีจับตามหมายจับ ผู้จับต้องแสดงหมายจับต่อผู้ถูกจับ (ป.วิ. อาญามาตรา 83 วรรคสอง) (เพื่อที่จะให้บุคคลผู้ถูกจับทราบว่า เขาต้องถูกจับในข้อกล่าวหาใด   เพื่อที่ผู้ถูกจับจะได้ทราบรายละเอียดข้อเท็จจริง ที่เขาจะต้องถูกจับ   หรือหากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ เพื่อที่ผู้ถูกจับจะได้ทราบข้อกล่าวหา และรายละเอียด ข้อเท็จจริงที่เขาจะต้องถูกจับตามหมายจับที่ได้แสดงนั้น ซึ่งผู้ถูกจับจะสามารถที่จะได้เตรียมการต่อสู้ และแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับ ในกรณีที่เขาไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่ตั้งข้อกล่าวหาไว้ )
          3. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ ป .วิ.อาญา มาตรา 83 วรรคสอง) ( เป็นการเปิดโอกาสที่จะให้ผู้ถูกจับได้ต่อสู้ ตามกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกจับที่จะไม่ให้การในชั้นจับกุม หรือในชั้นพนักงานสอบสวน เพื่อที่ผู้ถูกจับจะเตรียมตัวในการที่จะแก้ข้อกล่าวหาโดยที่จะไม่มีผู้ใดบังคับให้เขาให้การในขณะนั้น ถ้าเขายังไม่มีความพร้อมที่จะให้การ ซึ่งเมื่อเขาให้การไปแล้วอาจจะเสียเปรียบในการต่อสู้คดีได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกจับได้มีโอกาสที่จะต่อสู้ได้อย่างเต็มที่ )
              4. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งว่าถ้อยคำที่ผู้ถูกจับให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 83 วรรคสอง)
          5.       เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งว่าผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบ และปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็น  ทนายความได้ (ป.วิ. อาญา มาตรา 83 วรรคสอง) (เจตนาเพื่อให้ผู้ถูกจับสามารถที่จะมีที่ปรึกษาทนายความ ที่มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามาคุ้มครองช่วยเหลือแก่เขาในการแก้ข้อกล่าวหา )
         6. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบว่า มีสิทธิแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งเขาไว้วางใจทราบถึง การจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวก และไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เจ้าพนักงานก็ต้องอนุยาตให้ผู้ผูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี (ป.วิ. อาญา มาตรา 83 วรรคสอง) (ตามปกติเจ้าพนักงานผู้จับต้องอนุญาตให้บุคคลผู้ถูกจับดำเนินการได้ ตามสมควรแก่กรณี และสามารถดำเนินการได้โดยสะดวก และไม่เป็นการ ขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด เพื่อให้บุคคลผู้ถูกจับมีที่ปรึกษาในทันทีที่เขาถูก จับกุม ซึ่งเขาจะได้ปรึกษาหารือถึงการดำเนินการในการแก้ข้อกล่าวหา และเพื่อที่จะแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งตนเองไว้วางใจ มีการเตรียมการเพื่อ ขอปล่อยชั่วคราว   ซึ่งเจตนาของกฎหมายเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกจับของรัฐ ที่จะไม่ถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำนอกขอบเขตของกฎหมาย และจะไม่ถูกควบคุม คุมขัง โดยไม่จำเป็น และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกจับได้ต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในการแจ้งสิทธินี้ ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้น บันทึกการจับ ข้อความที่ได้แจ้งสิทธิที่ได้อนุญาต ดังกล่าวไว้ด้วย)
และมาตรา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๔*            เจ้าพนักงาน หรือ ราษฎร ผู้ทำการจับ ต้องเอาตัวผู้ถูกจับ ไปยังที่ทำการ ของพนักงานสอบสวนตาม มาตรา ๘๓ โดยทันที และ เมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจของท้องที่ทำการ ของพนักงานสอบสวนดังกล่าว เพื่อดำเนินการ ดังต่อไปนี้
                        (๑) ในกรณีที่เจ้าพนักงาน เป็นผู้จับ ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้น แจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับ ให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับ ให้แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบ และ อ่านให้ฟัง และ มอบสำเนาบันทึกการจับ แก่ผู้ถูกจับนั้น
                        (๒) ในกรณีที่ราษฎร เป็นผู้จับ ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจซึ่งรับมอบตัว บันทึกชื่อ อาชีพ ที่อยู่ ของผู้ถูกจับ อีกทั้งข้อความ และ พฤติการณ์แห่งการจับนั้นไว้ และ ให้ผู้จับ ลงลายมือชื่อกำกับไว้ เป็นสำคัญ เพื่อดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา และ รายละเอียดแห่งการจับ ให้ผู้ถูกจับทราบ และ แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบด้วยว่า ผู้ถูกจับ มีสิทธิที่จะไม่ให้การ หรือ ให้การ ก็ได้ และ ถ้อยคำของผู้ถูกจับ อาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ในการพิจารณาคดีได้
            เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ ซึ่งมีผู้นำผู้จับมาส่ง แจ้งให้ผู้ถูกจับ ทราบถึงสิทธิตามที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๗/๑ รวมทั้งจัดให้ผู้ถูกจับ สามารถติดต่อกับญาติ หรือ ผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการจับกุม และ สถานที่ที่ถูกควบคุมได้ ในโอกาสแรก เมื่อผู้ถูกจับ มาถึงที่ทำการ ของพนักงานสอบสวน ตามวรรคหนึ่ง หรือถ้า กรณีผู้ถูกจับร้องขอ ให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ เป็นผู้แจ้ง ก็ให้จัดการตามคำร้องขอนั้นโดยเร็ว และ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ บันทึกไว้ ในการนี้ มิให้เรียกค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ถูกจับ
            ในกรณีที่จำเป็น เจ้าพนักงาน หรือ ราษฎร ซึ่งทำการจับ จะจัดการพยาบาล ผู้ถูกจับเสียก่อนนำตัวไปส่ง ตามมาตรานี้ ก็ได้
            ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ ในชั้นจับกุม หรือ รับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้า ถ้อยคำนั้น เป็นคำรับสารภาพ ของผู้ถูกจับ ว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้า เป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ในการพิสูจน์ความผิด ของผู้ถูกจับ ได้ต่อเมื่อ ได้มีการแจ้งสิทธิ ตามวรรคหนึ่ง หรือตาม มาตรา ๘๓ วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี
         7. เจ้าพนักงานผู้จับต้องนำตัวผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยทันที   (ป.วิ. อาญามาตรา 84 วรรคแรก) (เพื่อให้ผู้ถูกจับได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้มากขึ้น โดยที่จะไม่ถูกจับ จะไม่ถูกควบคุมจากพนักงานผู้จับไว้นานเกินสมควร และเพื่อให้เจ้าพนักงานผู้รับตัวผู้ถูกจับจะได้ทำการตรวจสอบด้วยว่าการจับของเจ้าพนักงานผู้จับซึ่งจับบุคคลผู้ถูกจับมานั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพียงใดด้วย) แต่ ถ้าหากเจ้าพนักงานผู้ทำการจับกุมมีเจตนาหน่วงเหนี่ยว ถ่วงเวลาไว้เพื่อการอย่างอื่น ๆ โดยไม่มีเหตุจำเป็นตามควร เจ้าพนักงานอาจมีความผิดต่อเสรีภาพ หรือมีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบได้
            8. เจ้าพนักงานผู้จับต้องแจ้งข้อกล่าวหา    และรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ถ้ามีหมายจับให้แจ้งให้ผู้ถูกจับทราบและอ่านให้ฟัง (ป.วิ. อาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง (1)) (เพื่อให้ผู้ถูกจับทราบ  ข้อกล่าวหา และรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับทราบโดยละเอียด และถ้าเป็นการจับโดยมีหมายจับ ก็ให้อ่านหมายจับ ให้บุคคลผู้ถูกจับฟังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงที่ทำการพนักงานสอบสวน )
            9. เจ้าพนักงานผู้จับต้องมอบสำเนาบันทึกการจับแก่ผู้ถูกจับนั้นด้วย (ป.วิ. อาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง (1))  (เป็นการที่จะให้ผู้ถูกจับตรวจสอบความถูกต้องของการจับของเจ้าพนักงานว่าถูกต้องหรือไม่เพียงใด และสามารถนำไปต่อสู้คดีได้ เพื่อให้เกิดความยุติธรรม)
  ผลของการที่เจ้าพนักงานผู้จับไม่แจ้งสิทธิ หรือไม่จัดดำเนินการบทบัญญัติของกฎหมายให้แก่ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 84วรรค 4                ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ ในชั้นจับกุม หรือ รับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้า ถ้อยคำนั้น เป็นคำรับสารภาพ ของผู้ถูกจับ ว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้า เป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ในการพิสูจน์ความผิด ของผู้ถูกจับ ได้ต่อเมื่อ ได้มีการแจ้งสิทธิ ตาม ป.วิอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่ง หรือตาม มาตรา ๘๓ วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี
            ถ้าเป็นถ้อยคำอื่นจะรับฟ้งเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิหรือจัดดำเนินการ ตาม ป.วิ อาญา มาตรา 84 วรรคแรก หรือ ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้ว
               ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานผู้จับ จับตัวผู้ถูกจับแล้วนำส่ง พนักงานสอบสวน หรือผู้รับตัวผู้ถูกจับ เจ้าพนักงานผู้รับตัว ต้องแจ้งสิทธิและดำเนินการ แก่ผู้ถูกจับ เพื่อให้ผู้ถูกจับทราบสิทธิ ดังต่อไปนี้ (ป.วิ. อาญา มาตรา 84 วรรคสอง)
             1.      ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ซึ่งมีผู้นำผู้ถูกจับมาส่ง (อาจเป็นพนักงานสอบสวน)  ต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบถึงสิทธิ ตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ. อาญา มาตรา 7/1 (ดังนี้)
ปวอ. มาตรา ๗/๑*
            ผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหา ที่ถูก ควบคุม หรือ ขัง มีสิทธิ แจ้ง หรือ ขอให้ เจ้าพนักงาน แจ้งให้ญาติ หรือ ผู้ซึ่ง ผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหา ไว้วางใจ ทราบถึง การถูกจับกุม และ สถานที่ที่ถูกควบคุม ในโอกาสแรก และ ให้ผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหา มีสิทธิ ดังต่อไปนี้ ด้วย
                        (๑) พบ และ ปรึกษา ผู้ที่จะเป็น ทนายความ เป็นการเฉพาะตัว
                        (๒) ให้ทนายความ หรือ ผู้ซึ่ง ตนไว้วางใจ เข้าฟัง การสอบปากคำตนได้ ในชั้นสอบสวน
                        (๓) ได้รับ การเยี่ยม หรือ ติดต่อกับ ญาติ ได้ตามสมควร
                        (๔) ได้รับ การรักษาพยาบาล โดยเร็ว เมื่อ เกิดการเจ็บป่วย
            ให้ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจ ซึ่ง รับมอบตัว ผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหา มีหน้าที่ แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหานั้น ทราบในโอกาสแรกถึง สิทธิ ตามวรรคหนึ่ง

 ผู้ถูกจับหรือ  ผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขัง มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับ และ สถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
              (1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว   (สถานีตำรวจอาจต้องทำการจัดห้องควบคุม ให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาสามารถที่จะพบและปรึกษาทนายความได้เป็นการเฉพาะตัว)
                  (2)   ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
              (3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
              (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
             ห้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ    ซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือ ผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง  (ถ้าไม่แจ้งสิทธิให้แก่ผู้ถูกจับทราบเจ้าพนักงาน อาจมีความผิด ตาม ป.อาญา มาตรา 157
 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗
            ผู้ใด เป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือ ปฏิบัติ หรือ ละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ หนึ่งปี ถึง สิบปี หรือ ปรับตั้งแต่ สองพันบาท ถึง สองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
           2.      จัดให้ผู้ถูกจับสามารถติดต่อกับญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจ  เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการจับกุมและสถานที่ ที่ถูกควบคุมได้ในโอกาสแรก เมื่อผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน หรือถ้ากรณีผู้ถูกจับร้องขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้แจ้ง     ก็ให้จัดการตามคำร้องขอนั้นโดยเร็ว  และให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจบันทึกไว้ในการนี้  มิให้เรียกค่าใช้จ่ายใด ๆ จากผู้ถูกจับ           (กรณีนี้เจ้าพนักงานผู้รับตัวผู้ถูกจับ เมื่อผู้ถูกจับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ในโอกาสแรก เมื่อผู้ถูกจับร้องขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ แจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจ เพื่อให้ทราบถึงการจับกุม และสถานที่ควบคุมในโอกาสแรก เจ้าพนักงาน ก็ต้องมีหน้าที่จัดการติดต่อญาติ หรือผู้ที่ผู้ถูกจับไว้วางใจทราบ และการติดต่อห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้รับตัวผู้ถูกจับ เรียกค่าใช้จ่ายจากผู้ถูกจับ ถ้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ไม่ดำเนินการ ตามที่ร้องขอ อาจมีความผิด ตาม ป.อาญา มาตรา 157 ได้  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น